Main page
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล
ศิษย์เก่าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นที่ 10 รหัสประจำตัวนักศึกษา 187447
ปัจจุบันรับราชการอยู่ที่ สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และดำรงตำแหน่ง รองคณบดี ฝ่ายบริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2522 ว.ท.บ.วิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2524 ทบ.ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2528 ทม.ทันตแพทยศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2544 อนุมัติบัตร ทันตกรรมจัดฟัน ทันตแพทยสภา
ความรู้ความสามารถ
ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจัดฟัน

โดยได้ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ผู้สอนในสาขานี้ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับหลังปริญญานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 อีกทั้งเป็นผู้ร่างหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(สาขาทันตกรรมจัดฟัน) และหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต

แสงสว่างแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการความร่วมมือฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในเขตภาคใต้ตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดบริเวณศีรษะใบหน้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2544 และเป็นทันตแพทย์จัดฟันเพียงท่านเดียวที่ให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันกับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ของโครงการนี้ทั้งหมด ด้วยการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพทำให้โครงการนี้เป็นที่ยอมรับอย่างมากในระดับประเทศ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นศูนย์แก้ไขและฟื้นฟูสภาพความผิดปกติของขากรรไกร ใบหน้าและการบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเป็นประธานส่วนการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

"ตุ๊กตาจัดฟัน"

ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาส ยากไร้ เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาตั้งแต่แรกคลอดจนกระทั่งหมดการเจริญเติบโต ทันตแพทย์จัดฟันจะเป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เป็นแกนกลางในการติดตามดูแลให้การรักษาผู้ป่วย ตลอดระยะเวลา18-20ปี ของการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งในปัจจุบันมีความขาดแคลนทันตแพทย์จัดฟันที่จะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นอย่างยิ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกลได้อุทิศตนเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มาโดยตลอดนับแต่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและเข้ารับราชการ และเพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการดูแลที่ดี อาจารย์วิภาพรรณได้พากเพียรพยายามแสวงหาความรู้เพิ่มเติมทั้งจากการศึกษาภายในประเทศ หรือแม้แต่การเดินทางไปประชุม ดูงานในต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ในยามที่ประสบปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนในการให้การรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ ท่านได้ทำโครงการจัดจำหน่ายตุ๊กตาจัดฟัน เพื่อหาเงินทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการให้การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นที่ยอมรับในความเสียสละและอุทิศตนของท่าน อันนำมาซึ่งความร่วมมือร่วมใจในการสนับสนุนแรงกายแรงใจของหลาย ๆ ฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้รับรู้ จนได้รับการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ตทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย และเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รายละเอียดเพิ่มเติมเชิญ -->> เวปของอาจารย์

ด้านผลงานทางวิชาการ
การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • นำเสนอโปสเตอร์เรื่อง “การแก้ไขการกัดลิ้นในผู้ป่วยเด็กอายุ 16 เดือน : รายงานผู้ป่วย” ในที่ประชุมOrthodontic International Congress ระหว่างวันที่17 – 18 ธันวาคม 2541 ณ โรงแรมเซ็นทรัล กรุงเทพมหานคร
  • Ritthagol W.. Abnormal Oral Habit Correction in Primary Dentition. Oral presentation Multidisciplinary Approach for Quality Care in Cranio-Maxillo-Facial Deformities 10 years Siriraj Cranio-Maxillo-Forum. Oct.10-11, 2002. At Faculty of Medicine, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Nantanaranont T. and Ritthagol W. Distracion Osteogenesis : Role and Clinical Application in Maxillo-Facial Region-Series of Case Reports. Poster presentation Multidisciplinary Approach for Quality Care in Cranio-Maxillo-Facial Deformities 10 Years Siriraj Caranio Maxillo-Facial Forum. Oct.10-11, 2002. At Faculty of Medicine, Mahilol University, Bangkok, Thailand.
  • Leepong N., Nantanaranont T., and Ritthagol W. Severe Aperthonagthia : Integrated Orthodonntic Surgical Treatment Presentation Multidisciplinary Approach for Quality Care Poster presentation in Cranio Maxillo-Facial Deformities. 10 Years Siriraj Caranio-Maxillo-Facial Forum. Oct.10-11, 2002. At Faculty of Medicine, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Ritthagol W., Nantanaranont T., Integrated orthodontic and orthognathic surgery in management Of dentfofacial deformity in cleft lip and palate patients : PSU. Experiences. Poster presentation in First Thai International Congress on Interdisciplinary Care for Cleft Lip and Palate. Dec. 1-4, 2003.Khon Keen, Thailand.
  • Ritthagol W. Treatment in the cleft: Case Repot. Poster presentation in the American Association of Orthodontists AAO 103th Annual Session meeting at Hawaii Convention Center in Honolulu. May 2-9, 2003.
  • Ritthagol W. The incidence of cleft lip with or without cleft palate in Songkla Province Thailand. Poster presentation in the American Association of Orthodontists AAO 104th Annual Session meeting. April30 – May4, 2004. Orlando, Florida, USA.
  • Ritthagol W. Distraction Osteogenesis: Role and Clinical Application in Maxillofacial Region. Poster presentation in The WFO 6th International Orthodontic Congress. Sep 10 – 14 , 2005. Paris France.
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทั้งในและต่างประเทศ
  • Ritthagol W. Uprighting impacted permanent mandibular second molar with orthodontic removable appliance. C.U.Dent J.1996; 19(1)25-31.
  • Ritthagol W. Tongue Biting Correction in 16 –Month-Old Child: A Case Report. J.Dent.Assoc.Thai 2000; 50(6):472-474.
  • Ritthagol W. The incidence of cleft lip with or without cleft palate in Songkhla province, Thailand. American Association of Orthodontics. 104 th Annual Session. May 3, 2004
  • Ritthagol W. The incidence of Cleft lip and Palate in Songklanakarin Hospital between 1990-1999. J.Dent.Assoc.Thai 2001; 51(1):29-37.
  • Ritthagol W,Thitasomakul R. A comparative study of the lateral cephalogram and lateral skull radiograph :a new approach for general practitioner . J.Dent.Assoc.Thai 2001; 51(2):92-99.
  • Mutarai T., Ritthagol W, Hunsrisakhun J. Factors Influencing Early Childhood Caries of Cleft Lip and/or Palate Children Aged 18 to 36 Months in Southern Thailand. Cleft Palate Craniofac J. 2008. 45(5):468-472.
  • Chuacharoen R., Ritthagol W., Hunsrisakhun J., Nilmanat K. Felt Needs of Parents Who Have a 0- to 3-Month-Old Child With a Cleft Lip and Palate. Cleft Palate Craniofac J. 2009. 46(3): 252-257.
  • Leepong N., Nantanaranont T., and Ritthagol W. Severe Aperthonagthia : Integrated Orthodonntic Surgical Treatment Presentation Multidisciplinary Approach for Quality Care Poster presentation in Cranio Maxillo-Facial Deformities. 10 Years Siriraj Caranio-Maxillo-Facial Forum. Oct.10-11, 2002. At Faculty of Medicine, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Ritthagol W., Nantanaranont T., Integrated orthodontic and orthognathic surgery in management Of dentfofacial deformity in cleft lip and palate patients : PSU. Experiences. Poster presentation in First Thai International Congress on Interdisciplinary Care for Cleft Lip and Palate. Dec. 1-4, 2003.Khon Keen, Thailand.
  • Ritthagol W. Treatment in the cleft: Case Repot. Poster presentation in the American Association of Orthodontists AAO 103th Annual Session meeting at Hawaii Convention Center in Honolulu. May 2-9, 2003.
  • Ritthagol W. The incidence of cleft lip with or without cleft palate in Songkla Province Thailand. Poster presentation in the American Association of Orthodontists AAO 104th Annual Session meeting. April30 – May4, 2004. Orlando, Florida, USA.
  • Ritthagol W. Distraction Osteogenesis: Role and Clinical Application in Maxillofacial Region. Poster presentation in The WFO 6th International Orthodontic Congress. Sep 10 – 14 , 2005. Paris France.
ด้านการอุทิศตน
การเป็นวิทยากร

รับเชิญเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรอื่น ๆ ดัวยความเสียสละและตั้งใจอย่างสม่ำเสมอ

การให้บริการรักษาแก่ผู้ป่วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกลได้ปฎิบัติงานในหน้าที่ทันตแพทย์จัดฟันในโรงพยาบาลอย่างเต็มกำลังความสามารถอย่างวิริยะอุตสาหะและมีเมตตาต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่จนเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทุกระดับของคณะทันตแพทยศาสตร์ และได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ตัวอย่างในด้านบริการวิชาการของคณะทันตแพทยศาสตร์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2552 ทำให้เกิดการสร้างระบบการทำงานอย่างเป็นทีมที่ดีเยี่ยมของบุคลากรภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ในการให้การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ปกครองดีขึ้น

การเข้ามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมอื่น ๆ
  • อาจารย์วิภาพรรณ ได้เข้าร่วมชันสูตรศพเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลกรณีผู้เสียชีวิตจากคลื่นสึนามิ (Tsunami) เมื่อวันที่26 ธันวาคม 2547 ร่วมกับทีมทันตแพทย์ทั่วประเทศไทย จนได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ และจากการที่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ส่วนใหญ่ในภาคใต้จะมารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันตกรรม ทำให้สามารถหาข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ประสบภัยในครั้งนั้นรายหนึ่งได้เป็นผลสำเร็จ
  • แม้จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการเรียนการสอนที่ค่อนข้างมาก อาจารย์วิภาพรรณ ได้พยายามที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอ